5 เทรนด์ด้านความปลอดภัยที่น่าจับตามองในปี 2020

13 ม.ค. 2563

ยิ่งเทคโนโลยีพัฒนาไปมากเท่าไหร่ แน่นอนว่าก็ต้องพัฒนาความปลอดภัยให้ก้าวทันเทคโนโลยีให้มากขึ้น ซึ่งเทรนด์ในด้านความปลอดภัยในปี 2020 นี้จะมีอะไรกันบ้าง ไปดูกัน

1. การขยายตัวของความปลอดภัยพื้นฐานคลาวด์ (Cloud-base Security)

ในยุคที่โลกพัฒนาเทคโนโลยีจากโครงสร้างพื้นฐานสู่ระบบคลาวด์ เราจึงได้เห็นถึงแพลตฟอร์มและบริการของ Cloud-base security กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา Cloud computing พัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก และในปัจจุบันถูกนำมาใช้บ่อยครั้งเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การบริการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ เช่น Dropbox ไปจนถึงคลาวด์ CRM แบบครบวงจร เช่น Salesforce โดยการที่ผู้ใช้บริการและธุรกิจจะเติบโตได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับการจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญในสภาพแวดล้อมของคลาวด์

2. ความก้าวหน้าในด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูล (data-encryption advancements)

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการโจมตีทางไซเบอร์มีความซับซ้อนมากขึ้น ส่งผลให้ความก้าวหน้าด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลก็มากขึ้นตาม Ponemon Institute เผยผลสำรวจว่า 45% ของบริษัทต่างๆ เริ่มใช้กลยุทธ์การรักษาความความปลอดภัยของข้อมูล แต่หากวิธีการป้องกันเหล่านั้นล้าหลัง ข้อมูลต่างๆก็ถูกโจมตีอย่างง่ายดาย

การรักษาความความปลอดภัยของข้อมูลหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีของความเป็นส่วนตัว, ระบบ ring signature, การพิสูจน์โดยที่ไม่เปิดเผยข้อมูล (zero-knowledge proof) และเทคโนโลยีการกระจายข้อมูลให้ทุกคนในเครือข่าย (distributed ledger technologies) เมื่อนำเทคโนโลยีเหล่านี้ทำงานร่วมกัน ไม่เพียงแต่จะสามารถลบข้อมูลแบบไม่ระบุชื่อเต็มแล้ว ยังช่วยในการตรวจสอบข้อมูลและระบุตัวตนแบบอัตโนมัติอีกด้วย

3. การประกันภัยทางไซเบอร์ (Cyber Insurance)

การเติบโตในด้านการประกันภัยทางไซเบอร์เป็นที่ต้องการขององค์กรทุกขนาด ความสูญเสียทั้งจากการถูกแฮ็กข้อมูลหรือการข่มขู่ทางโลกไซเบอร์คิดเป็นประมาณ 11.5 ล้านเหรียญสหรัฐ จึงไม่แปลกใจที่องค์กรต่างๆจึงใช้มาตรการป้องกันโดยซื้อประกันภัย

จากข้อมูลของทางศูนย์นโยบายไซเบอร์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University’s Cyber Policy Center) เผยว่าปัจจุบันตลาดของการประกันภัยทางไซเบอร์มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 2.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็นสองหรือสามเท่าภายในสิ้นปี 2020 นี้ แต่ค่าใช้จ่ายที่สูงก็ยังส่งผลให้การเติบโตนี้ติดขัดในบางส่วน

ประมาณการเศรษฐกิจดิจิทัลในช่วงปีต้นปี 2016 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 11 ล้านล้านเหรียญให้เห็นได้ชัดว่าเศรษฐกิจดิจิทัลแบบใหม่มีการซื้อประกันภัยที่สูงมาก ผู้ให้บริการประกันภัยก็ยังคงต้องรับความเสี่ยงในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกไซเบอร์รวมถึงการโจมตีอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ IoT ที่กำลังมาในเร็วๆนี้ด้วย ในเมื่อการรั่วไหลของข้อมูลยังเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสำคัญมาก แน่นอนว่าการประกันภัยทางไซเบอร์ก็จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน

4. การพัฒนาการยืนยันตัวตนแบบไร้รหัสผ่าน (Passwordless Authentication)

การใส่รหัสผ่านยังเป็นการสร้างความปลอดภัยหลักที่คนนิยมใช้ แต่ในปัจจุบันได้มีวิธีในการยืนยันตัวตนแบบใหม่โดยไม่ต้องใช้รหัสผ่าน โดยอาจใช้ Hardware Tokens ในการสร้าง One-time Password (OTP) ซึ่งเป็นรหัสผ่านแบบใช้แล้วทิ้งอีกชุดหนึ่งขึ้นมาเพื่อยืนยันตัวตน, การยืนยันด้วยชีวมิติ (biometric authentication) ที่ใช้ลายนิ้วมือหรือเสียง และรายการคำถามที่ใช้เพื่อยืนยันตัวตนของผู้ใช้เมื่อลืมรหัสผ่าน (knowledge-based authentication)

5. ความต้องการคนที่มีทักษะด้านความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์

สภาเศรษฐกิจโลก (The World Economic Forum) ในปี 2017 รายงานว่าขาดแคลนคนที่มีทักษะด้านความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์และขาดแคลนมากยิ่งขึ้นตั้งแต่ปีนั้นเป็นต้นมา ทาง Cybersecurity Ventures จึงคิดโครงการที่ช่วยค้นหาผู้ที่มีทักษะมาทำงานในตำแหน่งนี้ 3.5 ล้านคนจากทั่วโลกภายในปี 2021 ซึ่งจำนวนคนในสายงานนี้เพิ่มขึ้นถึง 350% นับจากปี 2014 แค่ในประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีจำนวนเกือบ 1 ล้านคน และยังมีอีก 5 แสนตำแหน่งที่ยังว่างอยู่ หากคุณมีทักษะทางด้านนี้ จะไม่มีทางตกงานอย่างแน่นอน

Source: https://www.entrepreneur.com/article/343766

ก่อนหน้า

ถัดไป